บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผึ้งเป็นแมลงที่คุ้นเคยกับมนุษย์มากที่สุด
กล่าวได้ว่าผึ้งเป็นสัตว์ชนิดแรกที่สอนให้มนุษย์รู้จักกับรสหวานตามธรรมชาติ
สิ่งนั้นคือน้ำผึ้งนั้นเอง มนุษย์โบราณได้รู้จักลิ้มรสน้ำผึ้งมานานนับหมื่นๆ
ปีมาแล้ว หลักฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ได้แสดงไว้คือภาพวาดบนผนังถ้ำของยุคหินกลางหรือยุคเมโซลิธิก
ในประเทศสเปญ
รูปวาดนั้นแสดงให้เห็นคนกำลังไต่เชือกขึ้นไปตีผึ้งเป็นอาหารที่มีความหวานจากธรรมชาติชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักเก็บนำมาใช้ก่อนที่จะรู้จักน้ำตาลจากพืชที่ใช้กันในปัจจุบัน
กล่าวได้ว่าอียิปต์โบราณนับเป็นชนเผ่าแรกของโลกที่รู้จักการนำน้ำผึ้งมาเลี้ยงและย้ายรังผึ้งไปยังแหล่งที่มีดอกไม้อุดมสมบูรณ์
ได้มีการบันทึกมานานกว่า
2,300
ปี มาแล้วเกี่ยวกับการขนย้ายรังผึ้งโดยใช้ลา
นอกจากนั้นมีการบันทึกการขนย้ายผึ้งจากอียิปต์บ่างไปตามแม่น้ำไนล์ ไปยังอียิปต์บนในฤดูดอกไม้กำลังบานและมีการนำผึ้งมาขาย
เมื่อได้น้ำผึ้งเต็มรัง
ในประเทศจีนได้มีการจารึกเกี่ยวกับการใช้น้ำผึ้งป่ามานานกว่า 3,000 แต่เริ่มเลี้ยงผึ้งโพรงกันจริงจังเมื่อประมาณ 300 ปีมานี้เอง โดยนำรังผึ้งจากในป่ามาเลี้ยงกันตามบ้านและเก็บน้ำผึ้งมาใช้เมื่อมีน้ำผึ้งเต็มรัง
ปัจจุบันจีนได้คัดพันธุ์และผสมเทียมผึ้งจนได้สายพันธุ์ผึ้งโพรงชนิดใหม่สามารถผลิตน้ำผึ้งได้
50 กิโลกรัมต่อรัง
ความสนใจในเรื่องผึ้งของคนไทยคงมีมานานหลายร้อยปี แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน
แต่สิ่งที่ยืนยันได้แน่คือยาไทยนั้นใช้ผสมกับน้ำผึ้งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ดังนั้นคนไทยคงจะบริโภคน้ำผึ้งมานานนับร้อยปีมาแล้วเช่นกัน
การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยที่เกาะสมุย
นิยมเลี้ยงผึ้งโพรงมากที่สุดได้ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อได้ว่าชาวเกาะสมุยรู้จักเลี้ยงผึ้งมานานนับร้อยปีมาแล้ว
ผู้เลี้ยงผึ้งโพรงในจังหวัดเชียงใหม่ที่อายุ 70
กว่าปีได้ยืนยันว่าในหมู่บ้านของชาวเหนือได้รู้จักการจับผึ้งโพรงมาเลี้ยงครั้งปู่
ย่า ตา ยาย มาแล้ว ดังนั้นการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยในภาคเหนือของประเทศไทยคงเป็นความรู้สืบทอดกันมากว่าร้อยปีเช่นกัน
การเลี้ยงผึ้งในปัจจุบันในประเทศไทยแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
ผึ้งโพรงและผึ้งพันธ์
ซึ่งเริ่มนำเข้ามาเลี้ยงกันจริงจังในทศวรรษนี้เองแต่ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
จากข้อมูลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเลี้ยงผึ้งที่จังหวัดเชียงใหม่
และที่จังหวัดจันทบุรี (พ.ศ. 2527)
มีการยืนยันว่ามีผึ้งเลี้ยงอยู่ถึง 30,000 รังในประเทศไทย
ชนิดของผึ้ง
ผึ้งอยู่ในสกุลเอพิส
เป็นแมลงที่สามารถเก็บสะสมน้ำหวานไว้ในรวงภายในรัง มีอยู่ทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่
ผึ้งมิ้ม ผึ้งหลวง ผึ้งโพรง
ผึ้งเป็นผึ้งพื้นเมืองในแถบเอเชียตอนใต้ส่วนผึ้งชนิดที่ 4 คือ
ผึ้งพันธ์ซึ่งเป็นผึ้งพื้นเมืองของทวีปยุโรปและแอฟริกา
คุณสมบัติทางชีววิทยาของผึ้งทั้ง 4 ชนิดอย่างย่อๆ มีดังนี้
1.ผึ้งมิ้ม
ผึ้งมิ้มเป็นผึ้งที่สร้างรังประกอบด้วยรวงเดียว รูปทรงกลมหรือรี
ขนาดรังไม่ใหญ่นัก เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนใหญ่ไม่เกิน 20 เซนติเมตร แขวนห้อยอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้
อยู่กลางแจ้งในธรรมชาติ ประชากรของผึ้งงานในรังมิ้ม ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นของประชากรทั้งหมดถูกใช้ในการป้องกันรักษารังด้วยการแขวนตัวมันเองติดกับแผงคลุมรวงผึ้งทั้งรวง
มีผึ้งงานในอัตราส่วนน้อยมากที่ออกไปหาอาหาร
2.ผึ้งหลวง
ผึ้งหลวงเป็นผึ้งพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่งขิงประเทศไทยและประเทศอื่นๆ
ทางคาบสมุทรอินเดีย และเอเชียอาคเนย์ ผึ้งหลวงมีการดำรงชีวิตคล้ายกับผึ้งมิ้ม
กล่าวคือผึ้งหลวงจะสร้างรังประกอบด้วยรวงเพียงรวงเดียวห้อยจากกิ่งไม้ หน้าผา
ตามบ้านและอาคาร รวงของผึ้งหลวงมีขนาดใหญ่บางครั้งเกินกว่า 1 เมตร รังของผึ้งหลวงมักจะทำรังแขวนอยู่ในที่โล่ง
เราจึงไม่สามารถนำมาเลี้ยงในภาชนะได้และยังมีนิสับดุร้ายอีกด้วย
3.ผึ้งโพรง
ผึ้งโพรงเป็นผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทย
โดยธรรมชาติจะทำรังด้วยการสร้างรวงซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ในโพรงไม้ โพรงดิน
ภายในใต้หลังคาหรือตามฝาผนังบ้าน ที่มีปากทางเข้าออกค่อนข้างเล็ก
แต่ภายในมีที่กว้างพอที่จะสร้างรวงได้ ชอบสร้างรังในที่มือมิดชิด
ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่มีอัตราการแยกรังค่อนข้างบ่อยครั้งเมื่ออาหารขาดแคลน
มีโรคหรือศัตรูรบกวน
4.ผึ้งพันธ์
ผึ้งชนิดนี้เป็นผึ้งพื้นเมืองของทวีปยุโรปและอาฟริกา
มีพฤติกรรมในการทำรังเช่นเดียวกับผึ้งโพรงของเอเชีย
คือทำรังเป็นรวงซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ภายในโพรงไม้ธรรมชาติ
ผึ้งชนิดนี้สร้างรังในที่มืด สามารถนำมาเลี้ยงในภาชนะได้ ผึ้งพันธ์นี้มีพฤติกรรมมักไม่ทิ้งรัง
ลักษณะทำเลที่ตั้งรังผึ้ง
สถานที่ที่เหมาะต่อการตั้งรังผึ้งควรให้อยู่ใกล้กับแหล่งพืชที่เป็นอาหารของผึ้งให้มากที่สุด และมีดอกไม้บานตลอดปี ควรจะเป็นลานโล่งใกล้กับแหล่งน้ำ แต่น้ำไม่ท่วม สถานที่เลี้ยงผึ้งนี้นิยมเรียกกันว่า "ลานเลี้ยงผึ้ง" การเลือกลานเลี้ยงผึ้งนับว่าเป็นบันไดขั้นแรก ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ทีเดียว ถ้าเลือกลานเลี้ยงผึ้งไม่ดี จะนำไปสู่ความหายนะได้ทันที เช่น เลือกลานเลี้ยงผึ้งที่ใกล้สวนผลไม้ที่ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงเป็นประจำ ผึ้งจะได้รับพิษจากยาฆ่าแมลงตายได้อย่างรวดเร็ว บางครั้งผู้เลี้ยงผึ้งเลือกลานเลี้ยงผึ้งใกล้ริมแม่น้ำ โดยมิได้ศึกษาเรื่องน้ำท่วมมาก่อนดังนี้ พอถึงฤดูฝน เกิดน้ำหลากไหลพัดพารังผึ้งจมน้ำหายไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ลานเลี้ยงผึ้งควรอยู่ในสวนผลไม้ หรือที่มีต้นไม้ใหญ่เป็นฉากกำบังลมและแดด เพราะว่าถ้าลมแรงมากไป จะปะทะการบินของผึ้ง ในการบินออกหาอาหาร ถ้าร้อนมากไป ผึ้งจะต้องเสียพลังงานเป็นจำนวนมาก เพื่อลดความร้อนในรัง ลานผึ้งไม่ควรอยู่ในแหล่งชุมชน หรืออยู่ติดกับถนนที่มีแสงจากไฟฟ้า โดยเฉพาะผึ้งโพรงจะออกมาเล่นไฟในตอนหัวค่ำ และเช้ามืด ผึ้งที่ออกมาเล่นไฟนี้อาจจะตายได้ เพราะบินจนหมดแรง หรือถูกสัตว์พวกจิ้งจก ตุ๊กแก กบ และคางคกจับกิน ลานผึ้งที่อยู่ในที่ชุมชนติดทางเดินเท้า ผึ้งอาจจะบินไปชนและต่อยคนที่เดินผ่านไปมาได้ อย่างไรก็ตามควรเลือกลานผึ้งที่อยู่ใกล้กับสถานที่ที่มีการคมนาคมสะดวก เพราะมีความจำเป็นต้องขนย้ายรังผึ้งไปในแหล่งที่มีดอกไม้บานในบางครั้ง ตลอดจนสะดวกต่อการขนย้ายอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง และผลิตการเก็บน้ำผึ้ง
ปัจจัยสำคัญซึ่งมีผลต่อการผลิตผึ้งนางพญา
๑. สภาพความแข็งแรงของรัง ที่ใช้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อน ที่จะผลิตผึ้งนางพญา ถ้าหากมีความแข็งแรง และอุดมสมบูรณ์มาก อัตราการอยู่รอดสูงกว่ารังที่ไม่ค่อยแข็งแรง
๒. สภาพดินฟ้าอากาศเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญประการหนึ่ง คือ ถ้าหากอากาศไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส ฝนตก ผึ้งงานจะไม่ค่อยยอมรับตัวหนอนที่ใส่ลงไป แต่ถ้าท้องฟ้าแจ่มใส มีแสงแดด ฝนไม่ตก ผึ้งงานจะยอมรับได้ง่าย ทำให้อัตราการอยู่รอดของตัวอ่อนมีมากกว่าในกรณีที่ดินฟ้าอากาศไม่ค่อยดี
๓. การบาดเจ็บของตัวหนอนขณะย้ายจากหลอดรวงไปใส่ในถ้วยนางพญา เนื่องจากการย้ายหนอนต้องใช้ไม้หรือโลหะ สำหรับตักตัวหนอนออกมา หากทำอย่างไม่ระมัดระวัง ก็มีโอกาสที่จะทำอันตรายกับตัวหนอนได้ง่าย ดังนั้นผู้ที่ฝึกทำในระยะแรก ควรตรวจดูผลของการย้ายตัวหนอนก่อน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ (กล้องสองตา)
๔. ระยะเวลาในการที่ตัวหนอนอยู่นอกรัง ควรใช้เวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการย้ายตัวหนอน แล้วรีบเอาคอนถ้วยนางพญากลับคืนรังทันที เพราะสภาพแวดล้อมแตกต่างจากภายในรังผึ้ง ถ้าหากใช้เวลานาน อาจทำให้ตัวหนอนตายได้
๕. การแยกหลอด และการขนย้ายหลอดผึ้งนางพญา ไม่ควรทำในขณะที่ผึ้งมีอายุน้อยๆ เพราะโอกาสที่จะกระทบกระเทือนมีค่อนข้างสูง และต้องกระทำอย่างนุ่มนวลที่สุด
๖. เมื่อผึ้งนางพญาที่อยู่ในรังผสมพันธุ์ แล้วเริ่มวางไข่อย่างสม่ำเสมอ และแน่ใจว่า ผึ้งรุ่นลูกที่ออกมาเป็นผึ้งงานแล้ว จึงเริ่มแยกรังโดยนำผึ้งนางพญาตัวใหม่นี้ ไปใส่ในรังที่ขาดผึ้งนางพญาที่เตรียมไว้ได้ทันที ในกรณีเปลี่ยนนางพญาที่มีอายุมากที่เราไม่ต้องการ ให้จับนางพญาตัวที่ไม่ต้องการออก และใส่นางพญาตัวใหม่ที่อยู่ในกรงขนาดเล็กลงไป
สถานที่ที่เหมาะต่อการตั้งรังผึ้งควรให้อยู่ใกล้กับแหล่งพืชที่เป็นอาหารของผึ้งให้มากที่สุด และมีดอกไม้บานตลอดปี ควรจะเป็นลานโล่งใกล้กับแหล่งน้ำ แต่น้ำไม่ท่วม สถานที่เลี้ยงผึ้งนี้นิยมเรียกกันว่า "ลานเลี้ยงผึ้ง" การเลือกลานเลี้ยงผึ้งนับว่าเป็นบันไดขั้นแรก ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ทีเดียว ถ้าเลือกลานเลี้ยงผึ้งไม่ดี จะนำไปสู่ความหายนะได้ทันที เช่น เลือกลานเลี้ยงผึ้งที่ใกล้สวนผลไม้ที่ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงเป็นประจำ ผึ้งจะได้รับพิษจากยาฆ่าแมลงตายได้อย่างรวดเร็ว บางครั้งผู้เลี้ยงผึ้งเลือกลานเลี้ยงผึ้งใกล้ริมแม่น้ำ โดยมิได้ศึกษาเรื่องน้ำท่วมมาก่อนดังนี้ พอถึงฤดูฝน เกิดน้ำหลากไหลพัดพารังผึ้งจมน้ำหายไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน ลานเลี้ยงผึ้งควรอยู่ในสวนผลไม้ หรือที่มีต้นไม้ใหญ่เป็นฉากกำบังลมและแดด เพราะว่าถ้าลมแรงมากไป จะปะทะการบินของผึ้ง ในการบินออกหาอาหาร ถ้าร้อนมากไป ผึ้งจะต้องเสียพลังงานเป็นจำนวนมาก เพื่อลดความร้อนในรัง ลานผึ้งไม่ควรอยู่ในแหล่งชุมชน หรืออยู่ติดกับถนนที่มีแสงจากไฟฟ้า โดยเฉพาะผึ้งโพรงจะออกมาเล่นไฟในตอนหัวค่ำ และเช้ามืด ผึ้งที่ออกมาเล่นไฟนี้อาจจะตายได้ เพราะบินจนหมดแรง หรือถูกสัตว์พวกจิ้งจก ตุ๊กแก กบ และคางคกจับกิน ลานผึ้งที่อยู่ในที่ชุมชนติดทางเดินเท้า ผึ้งอาจจะบินไปชนและต่อยคนที่เดินผ่านไปมาได้ อย่างไรก็ตามควรเลือกลานผึ้งที่อยู่ใกล้กับสถานที่ที่มีการคมนาคมสะดวก เพราะมีความจำเป็นต้องขนย้ายรังผึ้งไปในแหล่งที่มีดอกไม้บานในบางครั้ง ตลอดจนสะดวกต่อการขนย้ายอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง และผลิตการเก็บน้ำผึ้ง
ปัจจัยสำคัญซึ่งมีผลต่อการผลิตผึ้งนางพญา
๑. สภาพความแข็งแรงของรัง ที่ใช้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อน ที่จะผลิตผึ้งนางพญา ถ้าหากมีความแข็งแรง และอุดมสมบูรณ์มาก อัตราการอยู่รอดสูงกว่ารังที่ไม่ค่อยแข็งแรง
๒. สภาพดินฟ้าอากาศเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญประการหนึ่ง คือ ถ้าหากอากาศไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส ฝนตก ผึ้งงานจะไม่ค่อยยอมรับตัวหนอนที่ใส่ลงไป แต่ถ้าท้องฟ้าแจ่มใส มีแสงแดด ฝนไม่ตก ผึ้งงานจะยอมรับได้ง่าย ทำให้อัตราการอยู่รอดของตัวอ่อนมีมากกว่าในกรณีที่ดินฟ้าอากาศไม่ค่อยดี
๓. การบาดเจ็บของตัวหนอนขณะย้ายจากหลอดรวงไปใส่ในถ้วยนางพญา เนื่องจากการย้ายหนอนต้องใช้ไม้หรือโลหะ สำหรับตักตัวหนอนออกมา หากทำอย่างไม่ระมัดระวัง ก็มีโอกาสที่จะทำอันตรายกับตัวหนอนได้ง่าย ดังนั้นผู้ที่ฝึกทำในระยะแรก ควรตรวจดูผลของการย้ายตัวหนอนก่อน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอ (กล้องสองตา)
๔. ระยะเวลาในการที่ตัวหนอนอยู่นอกรัง ควรใช้เวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการย้ายตัวหนอน แล้วรีบเอาคอนถ้วยนางพญากลับคืนรังทันที เพราะสภาพแวดล้อมแตกต่างจากภายในรังผึ้ง ถ้าหากใช้เวลานาน อาจทำให้ตัวหนอนตายได้
๕. การแยกหลอด และการขนย้ายหลอดผึ้งนางพญา ไม่ควรทำในขณะที่ผึ้งมีอายุน้อยๆ เพราะโอกาสที่จะกระทบกระเทือนมีค่อนข้างสูง และต้องกระทำอย่างนุ่มนวลที่สุด
๖. เมื่อผึ้งนางพญาที่อยู่ในรังผสมพันธุ์ แล้วเริ่มวางไข่อย่างสม่ำเสมอ และแน่ใจว่า ผึ้งรุ่นลูกที่ออกมาเป็นผึ้งงานแล้ว จึงเริ่มแยกรังโดยนำผึ้งนางพญาตัวใหม่นี้ ไปใส่ในรังที่ขาดผึ้งนางพญาที่เตรียมไว้ได้ทันที ในกรณีเปลี่ยนนางพญาที่มีอายุมากที่เราไม่ต้องการ ให้จับนางพญาตัวที่ไม่ต้องการออก และใส่นางพญาตัวใหม่ที่อยู่ในกรงขนาดเล็กลงไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น