องค์ประกอบเค้าโครงของโครงงาน
ชื่อโครงงาน
เรื่อง การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
ชื่อผู้จัดทำ
นางสาว อรญา อุราฤทธิ์
ชั้น ม.4/2 เลขที่ 29
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
1 เดือน 20 วัน
ที่มาความสำคัญ หรือแนวคิด
ผึ้งเป็นแมลงที่คุ้นเคยกับมนุษย์มากที่สุดกล่าวได้ว่า
ผึ้งเป็นสัตว์ชนิดแรกที่สอนให้มนุษย์รู้จักกับรสหวานตาธรรมชาติ
สิ่งนั้นคือน้ำผึ้งนั่นเอง
มนุษย์โบราณได้รู้จักลิ้มรสน้ำผึ้งมานานนับหมื่นๆปีมาแล้ว
หลักฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ได้แสดงไว้คือ ภาพวาดบนผนังถ้ำของยุคหินกลาง
ในประเทศสเปน ภาพวาดนั้นแสดงให้เห็นคนกำลังไต่เชือกขึ้นไปตีผึ้งที่อยู่ในโพรงไม้และเก็บน้ำผึ้งใส่ตะกร้า
ภาพนี้สร้างความเชื่อมันให้นักวิทยาศาสตร์ยอมรับได้ว่าผึ้ง
น้ำผึ้งเป็นอาหารที่ความหวานุจากธรรมชาติชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ก่อนที่จะรู้จักน้ำตาลจากพืช
ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้
กล่าวได้ว่าอียิปต์โบราณนับเป็นชนเผ่าแรกชองโลกที่รู้จักการนำผึ้งมาเลี้ยงและย้ายรังผึ้งไปยังแหล่งที่มีดอกไม้อุดมสมบูรณ์
ได้มีการบันทึกมานานกว่า 2,300 ปีมาแล้วเกี่ยวกับการขนย้ายรังผึ้งโดยใช้ควัน
นอกจากนี้มีบันทึกการขยายรังผึ้งจากอียิปต์ล่างไปตามแม่น้ำไนล์ไปยังอียิปต์บนในฤดูดอกไม้กำลังบานและมีการนำผึ้งมาขายเมื่อน้ำผึ้งเต็มรัง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของผึ้งโพรงไทย
2.เพื่อศึกษากระบวนการทำงานของสังคมผึ้ง
3.เพื่อปรับปรุงวิธีการเลี้ยงและแนะนำเทคนิคใหม่ๆเข้ามาใช้
4.เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้มีการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยมากยิ่งขึ้น
5.เพื่อสนับสนุนให้มีการศึกษา วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ของผึ้ง
เป้าหมาย
ได้น้ำผึ้งซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ลงทุนน้อย
ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ทางอ้อม
และผึ้งยังช่วยผสมเกสรดอกไม้ให้ติดผลมากยิ่งขึ้น
หลักการและทฤษฎี
ผึ้งเป็นแมลงสังคมที่อยู่เป็นครอบครัวใหญ่หรือเป็นกลุ่มสมาชิกในภายในรัง
แต่ละรังจะมีหนึ่งครอบครัว ประกอบด้วย 3
วรรณะ คือ ผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้ ผึ้งงาน
ซึ่งภายในหนึ่งรังจะมีผึ้งนางพญาหนึ่งตัว
ผึ้งตัวผู้หลายร้อยตัวและผึ้งงานหมื่นๆตัวหรือมากกว่านั้น
วิธีการดำเนินการ/อุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
๑. กระป๋องรมควัน ๒. หมวกคลุมศีรษะ ๓.
กล่องขังนางพญา
๔. มีด
๕. คอนผึ้ง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ทั้งหมด ๔ อัน ทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยม
๖. กล่องเลี้ยงผึ้ง ทำด้วยแผ่นไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีความยาว ๕๐ ซม. ความกว้าง ๔๑ ซม. ความสูง ๒๔ ซม.
๗. แผ่นรังเทียม (Foundation)หรือแผ่นฐานรวง
คือ แผ่นไขผึ้ง ที่ถูกพิมพ์ให้เป็นรอยตารางทั้งหกเหลี่ยม ทั้งสองหน้า นำมาตรึงตรงกลางของคอน เพื่อที่จะให้ผึ้งงานสร้างหลอดรวง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
2.ได้น้ำผึ้งซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง
3.ผึ้งช่วยผสมเกสรดอกไม้ให้ติดผลมากยิ่งขึ้น
4.ผู้มีความรู้ความเข้าใจสามารถทำเป็นอาชีพได้
5.เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยและปรับปรุงพันธุ์
เอกสารอ้างอิง
-ประดับ แจ่มแสง “การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยเบื้องต้น” โรงพิมพ์
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลไทยอนุเคราะห์ไทย พ.ศ. 2521
-ประยงค์ จึงอยู่สุข ‘คู่มือการเลี้ยงผึ้งพันธุ์’ โรงพิมพ์ไทยนิวส์การพิมพ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น